วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันสำคัญทางศาสนา

วันอาสาฬหบูชา
ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๘
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม

การละเล่นไทย


 การละเล่นพื้นบ้าน
                   การละเล่นของไทยในสมัยก่อนนั้นมีวิธีการเล่นที่สนุกสนานและหลากหลาย การละเล่นของเด็กสมัยก่อนที่นิยมเล่นกันในชีวิตประจำวันนั้น และสืบทอดมาจากคนรุ่นก่อน ซึ่งบางประเภทมีบทร้อง และท่าทางประกอบ ส่วนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มักมีการกำหนดขึ้นเองตามข้อตกลงของกลุ่มผู้เล่นในแต่ละท้องถิ่น บางครั้งก็เล่นตามความสนุกสนานร่าเริง แต่บางครั้งก็เล่นเพื่อการแข่งขันซึ่งทำให้ได้รับความบันเทิงจากการละเล่นไม่ใช่น้อย ขณะเดียวกันก็ยังได้เพิ่มพูนทักษะทางร่างกายและจิตใจ ไปพร้อมกันด้วย ซึ่งการละเล่น พื้นบ้านของไทยเราก็มีให้เลือกเล่นมากมายตามแต่เวลา โอกาส และสถานที่เอื้ออำนวย แต่ในปัจจุบันสังคม มีการเปลี่ยนแปลงไปทำให้การละเล่นพื้นบ้านของไทยนั้นเลือนหายไปจึงเป็นเรื่องน่าเสียดายที่คนรุ่นต่อมาอาจไม่ทราบถึงการละเล่นของไทยที่สนุกสนาน เพราะไม่รู้ถึงวิธีการเล่นและประโยชน์ของการละเล่นพื้นบ้าน
  ดังนั้นเรื่อง การละเล่นพื้นบ้านของเรา ที่เป็นที่นิยมเล่นกันกับเพื่อน ๆ ในสมัยเด็ก ๆ ในหมู่บ้านเรา ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามาก และเราก็ได้ผ่านช่วงนี้มาแล้วด้วยเหมือนกัน ซึ่งเชื่อว่าทุกคนจะต้องผ่านวัยเด็กมาแล้วกันทั้งนั้น หรือบางคนอาจจะกำลังอยู่ในช่วงนี้ก็ได้ ในช่วงวัยเด็กเป็นช่วงที่สนุกมากจนไม่อยากผ่านช่วงนี้มาเลย กลุ่มผู้ศึกษาจึงเลือกศึกษา เรื่องการละเล่นพื้นบ้านของเรา เพื่อเป็นอนุรักษ์วัฒนธรรมการละเล่นของหมู่บ้านและการละเล่นของไทยที่กำลังจะสูญหายให้เป็นที่รู้จักเพื่อชนรุ่นหลังสืบไป

ประเพณีบุญเบิกฟ้า



ประเพณบุญเบิกฟ้า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)ช่วงเวลา วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุก ๆ ปี (อยู่ระหว่างปลายเดือนมกราคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์)

ประเพณีสารทเดือนสิบ



ช่วงเวลา ระยะเวลาของการประกอบพิธีสารทเดือนสิบมีขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำถึงแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ แต่วันที่ชาวนครศรีธรรมราชนิยมทำบุญคือวันแรม ๑๓-๑๕ ค่ำ

ประเพณีสงกรานต์

วันสงกรานต์ ประเพณีไทย

      สงกรานต์ซึ่ง เป็นประเพณีของประเทศไทย  สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง การผ่าน หรือ การเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี...

ประเพณีสงกรานต์ ของไทยที่สืบกันมาอย่างช้านาน
 
        โดยการนับ ระยะเวลาที่เส้นทางของ ดวงอาทิตย์โคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์จักราศีทั้ง 12 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มดาวราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พิจิก ธนู มังกร กุมภ์ และ มีน การโคจร ผ่านกลุ่มดาวแต่ละกลุ่ม จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 30 วัน เมื่อ ดวงอาทิตย์โคจรผ่าน กลุ่มดาว เหล่านี้ครบทั้ง 12 กลุ่ม ก็จะได้ระยะเวลา 1 ปี พอดี เป็นวิธีการนับเดือนที่ใช้กันใน ประเทศอินเดีย และกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจาก อินเดียเช่น ไทย พม่า เขมร ลาว เป็นต้น
 

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู

คุณธรรม-จริยธรรมความเป็นครู



  การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
                  1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
                  2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
                  5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
                  6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ